ค้นหาศูนย์บริการและสาขา เช็คราคา
icon-ask-question
ค้นหาศูนย์บริการและสาขา

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

อีเมลไม่ถูกต้อง

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

“โรคไข้เลือดออก” ภัยร้ายจากยุงลาย อันตรายถึงชีวิต

“โรคไข้เลือดออก” ภัยร้ายจากยุงลาย อันตรายถึงชีวิต

รู้หรือไม่ว่า “โรคไข้เลือดออก” หรือ “ไข้เลือดออกเดงกี” (ชื่อภาษาอังกฤษ: Dengue Fever) โรคประจำถิ่นที่อยู่คู่กับคนทั่วโลกมามากกว่า 30 ปี แค่เฉพาะในประเทศไทย โดยข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีคนไทยมากกว่า 1,000,000 คนเคยป่วยเป็นโรคนี้ รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากการเป็นไข้เลือดออกอีกด้วย เพราะฉะนั้นในช่วงปี 2565 นี้ เพื่อไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับโรคนี้ สังเกตอาการ และวิธีการป้องกันต่างๆ ก่อนที่จะสายเกินไป

 

ไข้เลือดออก คืออะไร เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

 โรคไข้เลือดออก เป็นโรคที่พบมากในประเทศเขตร้อน และเขตอบอุ่น เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกีโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยเมื่อยุงลายไปกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อดังกล่าว โดยเฉพาะกัดผู้ป่วยในระยะไข้ที่มีเชื้อมากที่สุด เชื้อจะเข้าไปฝังตัวในต่อมน้ำลายของยุง และแพร่เชื้อให้กับคนที่ถูกยุงกัดต่อไป เชื้อไวรัสเดงกีในประเทศไทยพบมากในสายพันธุ์ชนิดที่ 1 (DENV-1) และชนิดที่ 2 (DENV-2)

ไข้เลือดออกสามารถเป็นได้กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะแข็งแรงแค่ไหน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคในปี 2564 พบว่าช่วงอายุที่พบว่าเป็นไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ อายุ 5-14 ปี คิดเป็น 35.05% และอายุ 15-24 ปี คิดเป็น 22.78%

อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะเป็นไข้เลือดออก

  • จะมีอาการไข้สูงผิดปกติ (อุณหภูมิ 38.5-41 องศาเซลเซียส) ในช่วง 2-7 วัน ไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล
  • รู้สึกเบื่ออาหาร อาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
  • ในเด็กบางรายอาจจะมีอาการชัก โดยเฉพาะในเด็กที่เคยมีประวัติชักมาก่อน
  • มีเลือดออกที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดเล็ก ๆ บริเวณแขน ขา ลำตัว ในบางรายอาจจะมีเลือดกำเดาออกมาด้วย
  • เกิดภาวะอาการช็อกในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • กดบริเวณตับรู้สึกเจ็บ และนุ่ม ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะตับโตที่เกิดขึ้นในช่วง 3-4 วันหลังนับตั้งแต่เริ่มป่วย

 หากพบอาการดังกล่าว ควรพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย และแนะนำวิธีในการรักษาต่อไป

ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อหรือไม่ เป็นซ้ำได้ไหม?

โรคไข้เลือดออกไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผู้ป่วย หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน แต่การถ่ายทอดเชื้อ และติดต่อผ่านตัวกลางอย่าง “ยุงลาย” เมื่อยุงลายไปกัด และดูดเลือดผู้ป่วย เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายของยุงลาย เมื่อเชื้อถูกสะสมในปริมาณมาก ก็จะเข้าไปฝังตัวอยู่ต่อมน้ำลายของยุง และถูกถ่ายทอดเชื้อไปยังคนที่ถูกยุงตัวนั้นกัดนั่นเอง

วิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นไข้เลือดออก

ถึงแม้จะฟังดูเป็นเรื่องยาก แต่วิธีการที่ป้องกันไม่ให้ตัวเองเป็นไข้เลือดออกที่ดีที่สุดคือ “ไม่ให้โดนยุงลายกัด” แต่ถ้าต้องเดินทาง หรือไปอยู่ในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง อาจจะหาตัวช่วยอย่างยาทากันยุงเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด

การปรับสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยก็สำคัญเช่นกัน หลายครั้งที่เราพบว่ายุงลายมักจะเพาะพันธุ์ และวางไข่ไว้ในสิ่งของต่างๆ โดยเฉพาะจุดที่มีน้ำขัง เราจึงรวมวิธีป้องกันแบบง่ายๆ มาฝากกัน

  • ภาชนะที่ใส่น้ำ พยายามหาฝามาปิดให้มิดชิด
  • ฐานรองแจกันที่มีน้ำ ให้ใส่ทรายเพื่อป้องกันยุงวางไข่
  • หากที่บ้านมีอ่างบัว แนะนำให้เลี้ยงปลาขนาดเล็กเพิ่ม ปลาจะช่วยกินลูกน้ำยุงได้
  • สำหรับบ้านที่มีอ่างอาบน้ำแบบขัน หลังจากใช้เสร็จ ให้หาผ้าใบมาไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่

หากป่วยเป็นไข้เลือดออก ประกันจะคุ้มครองหรือไม่

ในปัจจุบันแอกซ่า ประกันภัยได้มีการออกผลิตภัณฑ์อย่าง “ประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อน” โดยจะเน้นความคุ้มครองทั้งโรคไข้เลือดออก รวมถึงโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากยุง ได้แก่ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา), โรคไวรัสซิก้า, โรคไข้จับสั่น (มาลาเรีย) และโรคไข้สมองอักเสบ

จุดเด่นของประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อนจากแอกซ่า

  • คุ้มครองตั้งแต่อายุ 15 วัน - 69 ปี
  • เบี้ยถูกเริ่มต้นเพียง 48 บาท/ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
  • จ่ายเงินก้อน สูงสุดถึง 30,000 บาท
  • จ่ายผลประโยชน์ เมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน
  • ซื้อผ่านออนไลน์ คุ้มครองทันที พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านอีเมล
  • เบี้ยใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2565 ได้ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)

    ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.axa.co.th/axa-tropical-disease

 ---------------------------------------------------

และขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=44

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=780

http://www.dla.go.th/

 

#โรคไข้เลือดออก #ประกันไข้เลือดออกออนไลน์