คุ้มครองอะไรบ้าง?
- เบี้ยเริ่มต้นเพียง 48 บาท/ปี
- สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจสุขภาพ
- จ่ายเงินก้อน สูงสุดถึง 30,000 บาท
- เด็กสมัครได้ โดยไม่ต้องพ่วงผู้ปกครอง
- จ่ายผลประโยชน์ เมื่อเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพียง 1 คืน
- ซื้อผ่านออนไลน์ รับความคุ้มครองทันที พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมล
- สามารถนำเบี้ยประกันโรคร้ายจากยุงและโรคเขตร้อนมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2565 สูงสุดถึง 25,000 บาท (ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด)
ประกันไข้เลือดออกออนไลน์ คุ้มครองทุกวัย ให้อุ่นใจจากยุงร้าย ค่าเบี้ยถูกและคงที่ตลอดอายุสัญญา
ตารางความคุ้มครอง
ตารางความคุ้มครอง ประกันไข้เลือดออกและโรคร้ายจากยุง
เงื่อนไขการรับประกัน
1. กรมธรรม์มีระยะรอคอย 30 วัน
2. กรมธรรม์จ่ายผลประโยชน์ตามวงเงินเอาประกันภัยที่ท่านเลือก เมื่อผู้เอาประกันได้รับการยืนยันการวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่ง และได้มีการเข้ารับการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยใน ณ สถานพยาบาลในประเทศไทย
3. ผลประโยชน์ความคุ้มครองจะชดเชยเพียงโรคใดโรคหนึ่งและชดเชยครั้งเดียวตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย
4. รับประกันภัยสูงสุด 1 กรมธรรม์ ต่อท่าน
_______________________________________
แอกซ่า ประกันภัย. . .
เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออกเดงกี่ ที่นับว่าเป็น 1 ใน 5 ของโรคที่เฝ้าระวังทางระบาดวิทยาที่มีอัตราป่วยต่อประชากรสูงสุด โรคนี้ได้กลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวางและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะพบมากในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นโรคที่เกิดจากตัวไวรัสเดงกี่โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค มักระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ถ้าหากใครกำลังมองหาประกันไข้เลือดออกที่ไหนดี แอกซ่าประกันภัยขอแนะนำ แผนประกันไข้เลือดออกและโรคร้ายจากยุง พร้อมให้การดูแลคุ้มครองโรคร้ายจากยุง “เจอแล้วจ่าย” ราคาเบี้ยสบายกระเป๋าเริ่มต้นเพียง 48 บาท/ปี สมัครง่าย ซื้อผ่านออนไลน์ พร้อมรับกรมธรรม์ผ่านทางอีเมล
*ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันโรคไข้เลือดออกและโรคร้ายจากยุงได้สูงสุดไม่เกินคนละ 1 กรมธรรม์*
สถิติโรคไข้เลือดออกของคนไทย
องค์การอนามัยโลกยกให้โรคไข้เลือดออกเป็นโรคเขตร้อนที่แผ่ขยายออกไปเร็ว โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยสูงถึง 100-400 ล้านคน เนื่องจากอาจจะพบการกลับมาป่วยได้หลายหนในคนคนหนึ่ง ทางกรมควบคุมโรครายงานว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 71,000 คน และเสียชีวิต 51 คน กว่า 50% พบมากที่สุดในกลุ่มเด็กถึงวัยทำงานตั้งแต่อายุ 10–24 ปี กระจายทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย
(ที่มา: กรมควบคุมโรค)
_______________________________________