ค้นหาศูนย์บริการและสาขา เช็คราคา
icon-ask-question
ค้นหาศูนย์บริการและสาขา

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

อีเมลไม่ถูกต้อง

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

แต่ละช่วงวัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดไหนกันบ้าง ?

แต่ละช่วงวัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดไหนกันบ้าง ?

มะเร็ง โรคร้ายใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย แม้จะเป็นโรคร้ายแต่ปัจจุบันก็เป็นโรคที่สามารถป้องกันและรักษาให้หายได้ ทั้งนี้หากรู้ก่อนเราจะได้เตรียมตัวรับมือกับโรคร้ายได้อย่างทันท่วงที แอกซ่าได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัยมาให้ ดูกันว่าแต่ละช่วงวัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งชนิดไหนกันบ้าง ?

มะเร็งที่พบบ่อยในเด็ก

แม้ในเด็กจะมีโอกาสพบมะเร็งได้น้อย แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ แม้ปัจจุบันยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดในการเกิด แต่หากสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เป็นโรคในระยะแรกและได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ก็มีโอกาสหายขาดจากโรคได้ ปัจจุบันพบว่ามีผู้ป่วยเด็กได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งรายใหม่ประมาณปีละ 1,000 - 1,200 ราย โดยสามารถพบได้ในทุกวัน แม้แต่ในวัยแรกเกิด มะเร็งที่พบบ่อยในกลุ่มเด็ก 3 อันดับแรก ได้แก่
1. มะเร็งเม็ดเลือดขาว
- อาการที่ต้องระวัง: มีไข้ มีอาการซีด และมีจุดเลือดออกตามตัว อาจพบอาการปวดตามร่างกาย มีตับม้ามโตกว่าปกติ
2. มะเร็งสมอง
- อาการที่ต้องระวัง: เดินเซ อาเจียนรุนแรง มีการมองเห็นผิดปกติ มีอาการชัก ปวดศีรษะ ศีรษะโตมากกว่าปกติ
3. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- อาการที่ต้องระวัง: มักมีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เหงื่อออกมากเวลากลางคืน ต่อมน้ำเหลืองโตตามร่างกาย อาจพบก้อนที่ช่องทรวงอก ก้อนในช่องท้อง ตับและม้ามโต

มะเร็งที่พบบ่อยในวัยทำงาน

วัยทำงานเป็นอีกช่วงวัยที่มักพบการเกิดมะเร็ง ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคอาจมาจากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ สภาพแวดล้อมการทำงานที่ก่อให้เกิดความเครียด และพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ อย่างการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ มะเร็งที่พบบ่อยในกลุ่มวัยทำงาน ได้แก่
1. มะเร็งตับ
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ตัวเหลือง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีอาการปวดบริเวณชายโครงขวา
2. มะเร็งปอด
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก มีเสมหะปนเลือด เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร
3. มะเร็งเต้านม
- อาการที่ต้องระวัง: พบเจอก้อนเนื้อบริเวณเต้านมและรอบ ๆ รักแร้ หรือบางครั้งอาจมีอาการน้ำนมไหลออก เต้านมขยายใหญ่ เจ็บหรือปวดที่บริเวณหัวนม
4. มะเร็งลำไส้ใหญ่
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการท้องผูกบ่อย อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก รวมถึงมีเลือดปน อ่อนเพลียแบบไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรับประทานอาหารเท่าเดิม
5. มะเร็งผิวหนัง
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการคัน มีแผลตกสะเก็ด หรือขุยขาว ๆ บริเวณผิวหนังที่โดนแสงแดดประจำ สำหรับคนที่มีไฝหรือขี้แมลงวัน ไฝหรือขี้แมลงวันจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง สี หรือขนาดอย่างรวดเร็ว

มะเร็งในผู้สูงอายุ

สำหรับในผู้สูงวัย มักจะเป็นวัยที่พบโรคมะเร็งได้มาก โดยมีสาเหตุมาจากการเสื่อมของร่างกาย รวมถึงมีการกลายพันธุ์เกิดเป็นก้อนเนื้อที่ควบคุมไม่ได้ โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่
1. มะเร็งตับ
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ตัวเหลือง ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีอาการปวดบริเวณชายโครงขวา
2. มะเร็งปอด
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการไอเรื้อรัง หายใจลำบาก มีเสมหะปนเลือด เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด และเบื่ออาหาร
3. มะเร็งเต้านม
- อาการที่ต้องระวัง: พบเจอก้อนเนื้อบริเวณเต้านมและรอบ ๆ รักแร้ หรือบางครั้งอาจมีอาการน้ำนมไหลออก เต้านมขยายใหญ่ เจ็บหรือปวดที่บริเวณหัวนม
4. มะเร็งลำไส้ใหญ่
- อาการที่ต้องระวัง: มีอาการท้องผูกบ่อย อุจจาระลีบเป็นลำเล็ก รวมถึงมีเลือดปน อ่อนเพลียแบบไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะรับประทานอาหารเท่าเดิม

มะเร็งเป็นเรื่องใกล้ตัว หากมีประกันมะเร็งคุ้มครองไว้ ช่วยให้คุณอุ่นใจ แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว และได้รับเงินชดเชยเป็นเงินก้อน โดยไม่กระทบเงินออมในยามเกษียณของคุณ หากคุณสนใจสามารถตรวจสอบเบี้ยประกันมะเร็งผ่านออนไลน์กับแอกซ่า ได้แล้ววันนี้ สามารถซื้อผ่านออนไลน์และรับกรมธรรม์ทันทีผ่านอีเมล

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, สภากาชาดไทย, โรงพยาบาลสมิติเวช, Sanook, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส)