ค้นหาศูนย์บริการและสาขา เช็คราคา
icon-ask-question
ค้นหาศูนย์บริการและสาขา

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

อีเมลไม่ถูกต้อง

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

การบริหารหัวใจให้แข็งแรง ทำได้ไม่ยาก

การบริหารหัวใจให้แข็งแรง ทำได้ไม่ยาก

“หัวใจ” เป็นกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วหลอดเลือดต่อไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง มันเริ่มเต้นจังหวะแรกตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนในครรภ์มารดา เต้นไปตลอดจนกว่าจะหมดอายุขัยของแต่ละชีวิต การเต้นของหัวใจช่วยบ่งชี้ในเบื้องต้นได้ว่า คนๆ นั้นมีสุขภาพดีแค่ไหน

1.เดินแทนนั่งรถ ทุกคนไม่ว่าจะเป็นวัยไหนหรือจะมีโรคประจำตัว บางครั้งการไม่นั่งรถแล้วใช้วิธีเดินไปในระยะทางที่ไม่ไกลมากนัก หากตั้งใจเดินต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที ตกสัปดาห์ละ 5 วันเป็นอย่างน้อย จะสร้างผลที่แตกต่างให้กับหัวใจอย่างมาก ขณะที่เราเดินร่างกายเกิดการเผาผลาญพลังงาน หัวใจมีอัตราการเต้นที่เร็วขึ้นตามจังหวะการเดิน เกิดการสูบฉีดเลือดในหัวใจ ทำบ่อยเข้า จากที่เคยเป็นคนเหนื่อยง่ายจะหายเป็นปลิดทิ้ง 

2. “วิ่ง”กระตุ้นหัวใจ  การได้ออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เป็นการฝึกกล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานได้มากขึ้น หลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจเกิดการขยายตัว เซลล์จำนวนมากภายในหลอดเลือดจะผลิตเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมากขึ้น การวิ่งยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ไม่ควรวิ่งหักโหมระวังป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ ก่อนวิ่งทุกครั้งควรวอร์มอัพกล้ามเนื้อขาก่อน เริ่มจากวิ่งช้าๆ เยาะ ๆ ก่อนเพิ่มความเร็วขึ้นที่ไม่ฝืนร่างกาย พอใกล้วิ่งครบรอบที่ตั้งใจก็ต้องลดการวิ่งให้ช้าลงเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นการลดจังหวะการเต้นของหัวใจที่เร็วขึ้นให้ลดลงมาด้วย

3. เล่นโยคะ การเล่นโยคะในท่าต่างๆ ตั้งแต่ท่าพื้นฐานจนถึงท่ายากเป็นประจำ จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหัวใจมีอัตราการเต้นที่สม่ำเสมอ ระบบการไหลเวียนของเลือดสามารถหล่อเลี้ยงสมองและหัวใจได้ดียิ่งขึ้น  ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ ยังช่วยทำให้เกิดสมาธิ ทั้งสติและปัญญา ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เกิดความสมดุลทั้งกายและใจ

4. แอโรบิค คนวัยทำงานทั่วไปสามารถออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ไม่รุนแรงหรือโลดโผน ต้องทำอย่างต่อเนื่องๆ ทั้งการเดินวิ่งเหยาะๆ การปั่นจักรยาน ไปจนถึงการกระโดดเชือก เล่นเทนนิสหรือการร่วมเต้นแอโรบิค อย่างน้อยวันละครึ่งชั่วโมง ตกสัปดาห์ละ 5 วัน จะทำให้ร่างกายได้ใช้ออกซิเจนให้มากที่สุดเท่าที่จะใช้ได้ในเวลาที่กำหนด ช่วยทำให้หัวใจและระบบไหลเวียนเลือดแข็งแรง รวมทั้งทำให้หัวใจบีบและคลายตัวสม่ำเสมอ ฉะนั้น เมื่อหัวใจแข็งแรงแล้วการบีบและคลายตัวของหัวใจก็น้อยลง จึงทำให้ไม่เหนื่อยง่ายขณะเล่นแอโรบิค

5. เล่นท่าบริหารร่างกาย จะทำที่บ้านก็ได้ ส่งผลดีต่อหัวใจ ยกตัวอย่างท่า ดังนี้ 1.การแกว่งแขนโดยยืนอยู่กับที่ แล้วยกเข่าข้างหนึ่งให้สูงตั้งฉากกับแนวนอน แล้วเดินย่ำอยู่กับที่ทำร่วมกับแกว่งแขนสลับข้างตอนเดิน ทำประมาณ 5-10 นาที 2.การเล่นท่าซิตอัพ ด้วยการลุกนั่ง เริ่มจากนอนหงายแล้วชันเข่าขึ้นมา พร้อมกับยกหัวไหล่ค้างไว้ นับ 1-10  ก่อนวางหัวไหล่ลง 3.ทำท่ากระโดดตบ โดยเท้าชิด วางมือข้างลำตัวแล้วกระโดดแยกขาก่อนยกมือตบขึ้นเหนือศรีษะ ทำประมาณ 20 ครั้ง ต่อ 1 เซต โดยทำมากกว่า 1 เซตก็ได้ 

ด้วยหลักการต่างๆ เหล่านี้ นอกจากจะทำให้หัวใจแข็งแรงเลือดสูบฉีด ยังทำให้จิตใจสงบนิ่งมีสมาธิมากขึ้น และทั้งหมดนี้ เราเชื่อว่าคุณทำได้ #KnowYouCan