5 สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้ สังเกตก่อน ป้องกันได้ พร้อมทำประกัน มะเร็ง เพื่อความอุ่นใจ
มะเร็ง โรคร้าย ต้นเหตุการเสียชีวิตของใครหลายคน
รู้หรือไม่ โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในประเทศไทย โดยมีสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติระบุว่าในแต่ละปีไทยจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 140,000 คน หรือ ประมาณ 400 คนต่อวันนับเป็นตัวเลขที่สูงมาก ดังนั้นการป้องกันและตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด
โรคมะเร็ง เกิดได้ที่ไหนบ้าง
โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย เนื่องจากเซลล์ในร่างกายของเรามีหลายชนิด และเซลล์แต่ละชนิดก็มีหน้าที่แตกต่างกันไป เมื่อเซลล์เหล่านี้เกิดการกลายพันธุ์ หรือมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและผิดปกติ ก็จะก่อให้เกิดเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งได้ โดยมะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรก ในชายไทยได้แก่
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
มะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรกในหญิงไทย คือ
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งปากมดลูก
จะเห็นได้ว่ามะเร็งลำไส้นั้นเป็นหนึ่งในมะเร็งที่เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง เชื่อว่าหลายคนก็อาจกังวลและคิดว่าโรคมะเร็งลำไส้นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไปทำความรู้จักกับมะเร็งลำไส้กันต่อเลย
ทำความรู้จักกับมะเร็งลำไส้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในประเทศไทย โดยมีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งชนิดนี้อยู่ที่วันละประมาณ 15 คน หรือปีละ 5,476 คน ซึ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) คือชนิดของมะเร็งที่เกิดบริเวณลำไส้ใหญ่ (หรือที่เรียกว่าลำไส้ใหญ่โคลอน) อยู่ส่วนปลายสุดของระบบทางเดินอาหาร เกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก โดยส่วนใหญ่มักจะพบได้ในผู้สูงอายุ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งลำไส้
ที่จริงแล้วปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงนั้นมีหลากหลาย แต่มีหนึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้นั้นก็คือพฤติกรรมการบริโภคเรานั่นเอง โดยเฉพาะพฤติกรรมการกินที่เน้นเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดงที่ผ่านการแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม และเบคอน ที่มากเกินไป รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานผักผลไม้น้อย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และผู้ที่มีประวัติครอบครัวที่มีคนเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ล้วนเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้
นอกจากนี้ ผู้ที่เคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ชนิดอะดีโนมา หรือมีโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เช่น โครห์น หรือลำไส้ใหญ่อักเสบ ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เช่นกัน
มะเร็งลำไส้ระยะเริ่มแรกกับระยะลุกลาม แตกต่างกันอย่างไร?
มะเร็งลำไส้ในระยะแรกเริ่มมักไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น อาการท้องอืดหรือการขับถ่ายที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย แต่เมื่อเข้าสู่ระยะลุกลาม เซลล์มะเร็งจะกระจายไปยังเนื้อเยื่ออื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น ปวดท้องเรื้อรัง อาเจียน น้ำหนักลดฮวบ และมีเลือดออกจากทวารหนัก ซึ่งในระยะนี้การรักษาจะยากขึ้น ดังนั้นการตรวจพบในระยะแรกจึงมีความสำคัญในการรักษาให้หายได้
5 สัญญาณเตือนมะเร็งลำไส้

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น มะเร็งลำไส้เป็นโรคที่มีอาการที่ไม่ชัดเจนในช่วงแรก ๆ แต่เมื่อเข้าสู่ระยะลุกลาม อาการเหล่านี้จะชัดเจนขึ้น ไปดู 5 สัญญาณเตือนโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กันต่อเลย
1. ระบบขับถ่ายเปลี่ยนแปลง ขับถ่ายเป็นเลือด
หนึ่งในสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดของมะเร็งลำไส้คือการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่าย เช่น มีอาการท้องผูกหรือท้องเสียที่ผิดปกติ และการมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการระคายเคืองหรือการมีเนื้องอกในลำไส้ หากพบอาการนี้ควรปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัย
2. อาเจียนผิดปกติและหาสาเหตุไม่ได้
อาการอาเจียนบ่อยครั้งและไม่สามารถหาสาเหตุได้ อาจเป็นผลมาจากการที่มะเร็งลำไส้ทำให้ทางเดินอาหารอุดตัน หรือการที่เนื้องอกไปกดทับบริเวณใกล้เคียง ซึ่งส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ
3. น้ำหนักลดผิดปกติ แม้กินเหมือนเดิม
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ แม้ว่าคุณจะยังคงรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมหรือมากขึ้นก็ตาม สาเหตุของอาการนี้เกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียความสามารถในการดูดซึมสารอาหารเนื่องจากมะเร็งที่ลุกลามไปทำลายเนื้อเยื่อในลำไส้ หรือทำให้เกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร ทำให้การดูดซึมสารอาหารน้อยลง ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างผิดปกติ หากคุณพบว่าตัวเองมีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ได้ตั้งใจ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียด
4. ปวดท้องแบบไม่ทราบสาเหตุ
อาการปวดท้องเรื้อรังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน อาจเป็นอีกสัญญาณที่บ่งบอกว่ามะเร็งลำไส้กำลังเริ่มลุกลาม โดยเฉพาะหากมีอาการปวดร่วมกับการท้องอืดหรือการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป
5. เหนื่อยอ่อนเพลีย
มะเร็งลำไส้สามารถทำให้เกิดอาการเหนื่อยอ่อนเพลียได้ เนื่องจากร่างกายต้องทำงานหนักในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง อีกทั้งการเสียเลือดจากระบบขับถ่ายที่ผิดปกติ จะทำให้ร่างกายอ่อนแอและรู้สึกหมดแรง
แม้จะมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น เราก็ไม่อาจสามารถสรุปเองได้ว่าจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่จริง ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ เพื่อขอรับคำแนะนำ และการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำเพื่อการรักษาตัวและดูและตัวเองอย่างถูกวิธี
ประกัน มะเร็ง ทำเอาไว้ ใช้ชีวิตได้อุ่นใจ

โรคร้ายอย่างเช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่มักจะมาเยือนโดยไม่คาดคิด คงจะดีกว่าหากได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วในโรงพยาบาลชั้นนำ ซึ่งแน่นอนว่าการรักษาที่ดีมักจะตามมาด้วยค่ารักษาพยาบาลที่มีราคาสูงหลักล้านบาท หากไม่ได้วางแผนการเงินเอาไว้อย่างดีก็คงสร้างความลำบากใจให้เราได้ไม่ใช่น้อย จะดีกว่าไหมหากเราสามารถใช้เงินก้อนเล็กปกป้องเงินก้อนใหญ่ของเราได้ ประกัน มะเร็ง เป็นแผนประกันที่พร้อมช่วยคุณรับมือกับทุกสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด ตรวจเจอโรคร้ายเมื่อไหร่รับเงินก้อนไว้ใช้รักษาตัวเองได้ในทันที ช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินหากเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย
ประกันมะเร็ง เจอจ่ายจบ ต้องที่แอกซ่า
หากคุณกำลังมองหา ประกัน มะเร็ง เราขอแนะนำประกันมะเร็ง เจอ จ่าย จบ จากแอกซ่า ที่มีความโดดเด่นในด้านความคุ้มครองครอบคลุมโรคมะเร็งทุกชนิด ทุกระยะ ทั้งลุกลาม และไม่ลุกลาม ตรวจพบโรคร้าย รับเงินก้อนทันที สามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน ถึง 59 ปี สามารถนำเบี้ยประกันมะเร็งมาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้สูงสุดถึง 25,000 บาท (ทั้งนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด) หากสนใจสามารถซื้อประกันมะเร็งออนไลน์ได้เลย โดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ หรือติดต่อเราเพื่อสอบถามและรับคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์แอกซ่า 02 118 8111
ติดตามเรื่องราวดี ๆ จาก แอกซ่าประกันภัย ได้ที่
Website: www.axa.co.th
ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์แอกซ่า โทร: 02-118-8111
Facebook: AXA Thailand
Line: @AXAThailand
*ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
แหล่งอ้างอิงข้อมูล
Thai PBS. (2567, ตุลาคม). สถิติมะเร็งในประเทศไทย พ.ศ. 2567 เผยผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ยวันละกว่า 500 ราย [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/325714
Bangkok Biz News. (2567, ตุลาคม). สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยกับการรักษาและแนวทางการดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนไป [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/corporate-moves/health/well-being/1080368
CH9 Airport. (2567, ตุลาคม). สถิติมะเร็งในประเทศไทยปี 2567: แนวโน้มและการรับมือในระดับประเทศ [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://ch9airport.com/th/สถิติมะเร็ง-ประเทศไทย