ค้นหาศูนย์บริการและสาขา เช็คราคา
icon-ask-question
ค้นหาศูนย์บริการและสาขา

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

อีเมลไม่ถูกต้อง

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

กรุณากรอกข้อมูล

วิธีรับมือและป้องกันได้ อุบัติเหตุของ “ผู้สูงอายุ” ในบ้าน

วิธีรับมือและป้องกันได้ อุบัติเหตุของ “ผู้สูงอายุ” ในบ้าน

“ผู้สูงอายุ”เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ด้วยความเสื่อมถอยของร่างกายมากกว่าการเจริญเติบโต โอกาสที่จะล้มป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุภายในบ้านมีโอกาสสูง  ลองมาดูวิธีการรับมือและป้องกัน

1. กรณีที่ผู้สูงอายุเกิดหกล้ม อย่าพยายามยกหรืออุ้มในทันทีเพราะอาจมีกระดูกหักเกิดขึ้น ให้สังเกตท่าล้มและนอนท่าเดิมไว้ก่อน ตรวจสอบดูมีบาดแผลเลือดออกหรือไม่ ถ้ามีให้ทำการห้ามเลือด เบื้องต้นโทร.แจ้งสายด่วน 1669 ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรับตัวส่งโรงพยาบาล แต่หากบาดเจ็บเล็กน้อยหรือไม่เจ็บเลย ลุกขึ้นเองได้ปกติ อาจต้องพาไปพบแพทย์ไว้ก่อน

2. การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งในบ้านและนอกบ้าน พื้นเหยียบต้องไม่ลื่น ทำทางลาดสะดวกต่อการเดินหรือใช้วีลแชร์ การจัดเก็บสายไฟให้มิดชิดขึ้น เพิ่มความสว่างภายในบ้าน การหาเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย รองเท้าในบ้านที่เหมาะสม การเลือกเก้าอี้นั่งจนถึงเตียงและที่นอน และการจัดห้องนอนควรอยู่ชั้นล่าง

3. ห้องน้ำเป็นพื้นที่อันตรายของคนสูงวัย ควรเน้นกระเบื้องปูพื้นแบบ Non Slip หรือกันลื่น แต่หากยุ่งยากในการปรับพื้น ให้ใช้เทปกาวกันลื่นติดพื้นผิวแทน ติดเหมือนทางม้าลาย หรือการใช้พรมยางปู (Toilet Carpet) และอีกวิธี การใช้น้ำยาใสทากันลื่นลงพื้นกระเบื้อง ควรทำราวจับทั้งตรงชักโครก ตรงพื้นที่อาบน้ำ และอ่างล้างหน้า แล้วแต่ความเหมาะสม เพียงเท่านี้ช่วยลดโอกาสการลื่นล้ม หัวฟาดพื้นได้มหาศาล

4. ให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายเท่าที่จะทำได้ เหมือนได้ยาวิเศษ บางรายยังเดินเหินได้ก็ช่วยเดินประกบ หรือยืนย่ำเท้าอยู่กับที่ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ยืดหยุ่นกระดูกและข้อ ช่วยเรื่องการทรงตัว ถ้ามีปัญหาเข่าเสื่อม ให้ระมัดระวังการวิ่ง บางรายหากนั่งวีลแชร์ให้ยกแขน หรือสะบัดข้อมือ นิ้วมือ การออกกำลังกายทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกชอบ จิตใจแจ่มใส ไม่เครียด มีสังคมในกลุ่มเพื่อน

5. อาจจะติดตั้งอุปกรณ์เสริม เช่น สวิตช์ดึง นกหวีดหรือกระดิ่งไว้กับตัวผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ดูแลหรือคนในบ้านได้ทราบทันทีว่าต้องการความช่วยเหลือ ดีกว่าให้ผู้สูงอายุตะโกนหรือเรียกที่อาจจะไม่ได้ยินเสียง ติดได้ทั้งหัวเตียงและในห้องน้ำ

6. การสังเกตอาการของผู้สูงอายุ ที่อาจมีอาการตาพร่ามัว บอกระยะชัดเจนไม่ถูกต้อง รวมถึงการได้ยิน การสับสนในการรับรู้และบอกเรื่องราวบางอย่างที่ผิดปกติ จนถึงการเดิน การนั่ง ที่ยากแก่การทรงตัว อาจทำให้ล้มลงได้โดยง่าย ควรพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและการรักษาต่อไป

และหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ห่วงใยผู้สูงอายุในบ้าน ปรึกษาการทำประกันอุบัติเหตุให้แก่ผู้สูงวัยได้ที่ https://www.axa.co.th/th/personal-accident-protection

โปรโมชั่น ประกันอุบัติเหตุ แอกซ่า 2021